• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • 4 ข้อหลักการทำความเข้าใจและวิเคราะห์รายการทางบัญชีอย่างมืออาชีพ

4 ข้อหลักการทำความเข้าใจและวิเคราะห์รายการทางบัญชีอย่างมืออาชีพ

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • 4 ข้อหลักการทำความเข้าใจและวิเคราะห์รายการทางบัญชีอย่างมืออาชีพ

4 ข้อหลักการทำความเข้าใจและวิเคราะห์รายการทางบัญชีอย่างมืออาชีพ

4 ข้อหหลักการทำความเข้าใจและวิเคราะห์รายการทางบัญชีอย่างมืออาชีพ

     ระบบบัญชีที่ดีจะต้องบันทึกธุรกรรมทางธุรกิจต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและเชื่อถือได้เพื่อนำไปจัดทำ
งบการเงิน ธุรกรรมทางธุรกิจคืออะไร? ธุรกรรมทางธุรกิจจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่สามารถประเมินได้ในแง่ของตัวเงิน และส่งผล
กระทบต่อสถานะทางการเงินในการทำธุรกิจ ธุรกรรมทางธุรกิจล้วนมีผลกระทบต่อองค์ประกอบทางบัญชีไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของ
ทุน รายได้หรือค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ธุรกรรมอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายการแลกเปลี่ยนและรายการที่ไม่มีการแลกเปลี่ยน ซึ่งรายการ
แลกเปลี่ยนเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนทางกายภาพ เช่น การซื้อ การขาย การรับชำระจากลูกหนี้ และการจ่ายชำระเงินต่างๆ ขณะที่รายการที่ไม่มี
การแลกเปลี่ยน คือ กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนทางกายภาพ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือส่งผลกระทบต่อมูลค่าของค่าเงิน เช่น
การสึกหรอของอุปกรณ์ ค่าเสียหายจากอัคคีภัยหรือ การเสียหายจากพายุ เป็นต้น เพื่อให้ธุรกรรมทางธุรกิจเข้าหลักเกณฑ์ มีความน่าเชื่อถือ
และสามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน กิจกรรมหรือเหตุการณ์ในธุรกิจจะต้องประกอบด้วย 4 วิธีดังนี้



1.เป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง
     การแบ่งแยกระหว่างแนวคิดทั่วไปกับสมมติฐานทางบัญชีออกจากกันอย่างชัดเจนจะช่วยให้เห็นภาพเกี่ยวกับการทำรายการของธุรกิจในภาพรวม
และสิ่งที่เป็นการดำเนินการของเจ้าของบริษัท (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งราย)
โดยสมมติว่ามีนาย A ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท A โปรดักชั่น ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ส่วนตัวโดยใช้เงินของตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะไม่ถูกบันทึกในรายการ
ของบริษัท ด้วยเหตุผลว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการทำธุรกิจแม้แต่น้อย
แต่ถ้าบริษัทดังกล่าวซื้อรถบรรทุกส่งของ สิ่งนี้ต่างหากจะถูกบันทึกในรายการธุรกิจของบริษัท หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง หากนาย B ลงทุนเงิน
ตัวเงินกว่า 500,000 บาทในบริษัท สิ่งนี้จะถูกบันทึกในรายการของบริษัทได้หรือไม่
โดยสิ่งสำคัญคือการตั้งคำถามว่า “สิ่งนี้จะเกี่ยวกับบริษัทไหม” และหากใช่ ก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรายการธุรกิจโดยตรง โดยนึกเสมอว่าธุรกิจต่างๆ
ควรจะถูกมองให้เป็นธุรกิจ และแยกธุรกรรมอื่น ๆ ที่เหล่าเจ้าของบริษัทต่างนำเงินไปใช้เพื่อตัวเอง

2.มีลักษณะทางการเงิน (ในจำนวนเงินที่ชัดเจน)
     รายการต่างๆจะต้องเกี่ยวข้องกับมูลค่าทางการเงิน ซึ่งหมายถึงจำนวนเงินที่ชัดเจนในการระบุองค์ประกอบต่าง ๆ หรือจำนวนเงินที่มีผลกระทบ
ต่อบัญชี ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A โปรดักชั่น ได้ให้บริการบันทึกวีดิโอ และคาดหวังที่จะได้รับเงินค่าตอบแทน 300,000 บาทภายใน 10 วัน
ซึ่งกรณีนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า รายได้ของบริษัทและเงินที่จะได้รับจะอยู่ที่ 300,000 บาท เพียงแค่คำสั่งซื้อของลูกค้าไม่ถือว่าเป็นธุรกรรมทาง
ธุรกิจที่สามารถบันทึกได้ ควรมีการขายหรือการให้บริการตามจริงก่อนเพื่อให้บริษัทมีรายได้

3.มององค์ประกอบทางธุรกิจให้เป็นคู่ขนานกัน
     ทุก ๆ รายการต่างมีผลลัพธ์ที่คู่ขนานกัน ซึ่งมูลค่าของเงินที่ได้รับ ก็จะนำไปสู่การประเมินมูลค่าของสิ่งที่จะต้องจ่าย เช่นเดียวกับการมีเดบิต
ก็จะต้องมีเครดิตควบคู่กัน สิ่งนี้ถือเป็นแนวคิดของระบบบัญชีคู่ที่เราทราบกันดี ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A โปรดักชั่น ได้ซื้อโต๊ะกับเก้าอี้มูลค่า
30,000 บาท โดยบริษัทได้รับโต๊ะและเก้าอี้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ (เพิ่มในส่วนของอุปกรณ์สำนักงาน) ในขณะเดียวกัน บริษัท
จ่ายเงินสดเป็นค่าสิ่งของออกไป สิ่งนี้นำไปสู่การลดมูลค่าทางสินทรัพย์ (ลดในส่วนของเงิน)

4.การสนับสนุนด้วยหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ
     สำหรับการบัญชีที่ดีและแนวปฏิบัติสำหรับการควบคุมภายในนั้น ธุรกรรมทางธุรกิจจะต้องได้รับการสนับสนุนในด้านหลักฐานและเอกสารที่มี
แหล่งที่มาซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการจดบันทึกรายการในบัญชีรายวัน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกรายการ ได้แก่ ใบเสร็จตัวจริงที่ออกให้เมื่อได้
รับเงินใบแจ้งหนี้สำหรับรายการขายต่างๆ ใบสำคัญการจ่ายเงินสำหรับเงินสด สถานะของบัญชีจากบริษัทเจ้าหนี้ ใบแจ้งหนี้จากเจ้าหนี้ ตั๋วสัญญา
ใช้เงินและเอกสารอื่นๆ ทางธุรกิจ สิ่งแรกที่นักบัญชีควรดำเนินการคือการรวบรวมหลักฐานและเอกสารที่มีแหล่งที่มาต่าง ๆ และพิจารณาถึงผลกระทบ
ของธุรกรรมทางธุรกิจต่อบัญชีของบริษัท ซึ่งหลังจากนั้นนักบัญชีสามารถบันทึกการทำธุรกรรมผ่านรายการรายวันได้
 1518
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์