ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล



ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย” (Withholding Tax) แต่เดิม ขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีเป็นประจำทุกเดือน ไม่สะดวกแก่ผู้รับเงินที่จะนำภาษีที่ถูกหักไว้ไปเครดิตในการคำนวณภาษี ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้

แนวทางการปรับปรุงของกรมสรรพากร

กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ e–Withholding Tax ซึ่งเป็น วิธีการใหม่ในการนำส่งเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 มาตร 70 มาตรา 70 ทวิ และภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งข้อมูลและภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคารผู้ให้บริการระบบ e–Withholding Tax แทนการยื่นแบบกระดาษ หรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต (e–Filing) ดังนี้

  1. ผู้จ่ายเงินสามารถให้ธนาคารนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนพร้อมกับการจ่ายเงินผ่านธนาคารไปยังผู้รับเงินโดยผู้จ่ายเงินไม่ต้องยื่นแบบและไม่ต้องออกและจัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก ผู้จ่ายเงินจะได้รับใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จากกรมสรรพากร การเก็บรักษาใบเสร็จรับเงินจึงสะดวกมากขึ้น และสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
  2. ผู้รับเงินไม่ต้องเก็บรักษาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ต้องยื่นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมทั้งสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทำให้สะดวกและมีต้นทุนลดลง
  3. กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางออนไลน์ผู้เสียภาษีจึงได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น และไม่ต้องยื่นหลักฐานเพิ่มเติมต่อกรมสรรพากร

จะเริ่มให้บริการ e-Withholding Tax กลุ่มแรกแก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยระบบจะสอดคล้องกับ การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 2% สำหรับการจ่ายเงินผ่าน e-Withholding Tax ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564

ที่มา :  การให้สัมภาษณ์ ของ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส อธิบดีกรมสรรพากร ผ่าน ไทยรัฐออนไลน์

 1737
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์