การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual



การบัญชีในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อทุกๆกิจการ การทำงานของบัญชีก็มีหลายส่วนงานด้วยกัน ซึ่งส่วนงานที่สำคัญของบัญชีก็คือการออกงบการเงิน ในงบการเงินประกอบด้วย 5 งบที่สำคัญคือ

1.
งบแสดงฐานะการเงิน 
2.
งบกำไรขาดทุน 
3.งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ
4.
งบกระแสเงินสด 
5.หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหลายส่วนงานของกิจการสามารถนำงบการเงินไปใช้ได้ เช่น ฝ่ายบริหารใช้ในการบริหารงาน ฝ่ายการเงินใช้ดูสภาพคล่องของกิจการ และสิ่งที่สำคัญของบัญชีคือการใช้รูปแบบการบันทึกบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการ ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual มาดูกันเลยนะคะว่ามีรูปแบบการบันทึกบัญชียังไงบ้าง

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System : พีริออดิก อินเวนทอรี ซิสเทิม)

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ในระหว่างงวด ดังนั้นยอดคงเหลือบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอด ณ วันต้นงวด และจะไม่บันทึกต้นทุนขายในทุกครั้งที่ขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ต้องการทราบยอดคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนขายต้องทำการคำนวณ วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าในปริมาณมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ข้อดีของวิธีนี้คือ การบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลา ข้อเสียคือ ไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ทันทีที่ต้องการ

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System : เพอเพชชวล อินเวนทอรี ซิสเทิม)

        วิธีนี้จะมีบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ไว้เพื่อบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดการดำเนินงาน โดยใช้บันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย ส่งคืนและรับคืน ดังนั้นจึงทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพงหรือสินค้าจำนวนไม่มาก ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้ทรายยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา ข้อเสียคือ ต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

เปรียบเทียบการบันทึกบัญชี

periodic-and-perpetual
รูปภาพจาก : mindphp.com

ดังนั้นการใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละกิจการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการบันทึกบัญชี


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

บทความโดย : http://www.mindphp.com

 2279
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์