081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
Accounting Articles
นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?
นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?
ย้อนกลับ
หน้าแรก
Accounting Articles
นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?
นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?
ย้อนกลับ
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
เรื่องของการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ หมายถึง ความอยู่รอดและความเป็นความตายสำหรับหลายๆ ธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป และธุรกิจผลิต ที่จะต้องสต็อกสินค้าไว้ล่วงหน้าก่อนจะขายต่อให้กับลูกค้า
เพื่อลดปัญหาอันน่าปวดหัวจากสินค้าคงเหลือ วันนี้เราพาทุกคนมาทำความเข้าใจอัตราส่วนทางการเงินกับสินค้าคงเหลือกัน เริ่มต้นจากรู้จักแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน การวิเคราะห์อัตราส่วนสินค้าคงเหลือนั้น จะมีข้อมูลจาก 2 แหล่ง
1.สินค้าคงเหลือ ในงบแสดงฐานะการเงิน
2.ต้นทุนขาย ในงบกำไรขาดทุน
แน่นอนว่าสินค้าคงเหลือเป็นตัวสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับต้นทุนขาย เวลาเราซื้อสินค้ามาหรือผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ก็บันทึกเป็นสินค้าคงเหลือ พอเราขายเราก็ตัดออกมาเป็นต้นทุนขายตามจำนวนสินค้าที่ขายได้ ดังนั้น ยอดสินค้าคงเหลือก็ย่อมมีความเกี่ยวโยงกับต้นทุนขายอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว ถัดมาเรามาทำความเข้าใจ 2 อัตราส่วนทางการเงินที่ช่วยวิเคราะห์สินค้าคงเหลือกัน
1. อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ หมายถึง จำนวนรอบ (Turnover) ที่สินค้าคงเหลือทำได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่สินค้าคงเหลือเข้ามาในกิจการและถูกจำหน่ายออกไป ถ้ากิจการไหน มีรอบการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือมากใน 1 ปี ยิ่งแปลว่า สินค้าหมุนเวียนได้ดี
สูตรที่ใช้คำนวณมีตามนี้
อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover) = ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
ตัวอย่างเช่น บริษัท AAA มีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยปี 2563 และ 2564 = 27,000 บาท และมีต้นทุนขายเฉลี่ย = 363,000 บาท
อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover) = 363,000 / 27,000 = 13.44 รอบ
อัตราหมุนเวียนของสินค้าจำนวน 13.44 รอบนั้น แปลว่า ใน 1 ปี บริษัท AAA ซื้อสินค้ามาแล้วขายออกไปได้ทั้งหมด 13.44 รอบ นั่นเอง
ถ้าสมมติปีก่อนมีรอบการหมุนเวียนจำนวน 10 รอบ แปลว่า ปี 2564 บริษัท AAA ทำผลงานได้ดีขึ้น
2. ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory)
ระยะเวลาในการถือครองสินค้าคงเหลือ หมายถึง จำนวนวันที่เราถือสินค้าไว้กับมือโดยเฉลี่ย ตั้งแต่เริ่มซื้อวัตถุดิบเข้ามาจนกระทั่งขายของออกไป ว่าเราถือสินค้าเหล่านี้ไว้จำนวนทั้งหมดกี่วัน
ถ้ากิจการไหน มีจำนวนการถือครองสินค้าคงเหลือน้อย ๆ แปลว่า ดี เพราะนั่นหมายความว่าสินค้าในสต็อกหมุนเวียนขายออกไปได้เร็วนั่นเอง
สูตรที่ใช้คำนวณมีตามนี้
ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory) = 365 Day / อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ
ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลเดิมของ บริษัท AAA เราเอามาคำนวณจำนวนวันที่ถือครองสินค้าได้ตามนี้
ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory) = 365 / 13.44 = 27.16 วัน
ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงเหลือ 27.16 วัน หมายถึง โดยเฉลี่ยบริษัท AAA ต้องถือสินค้าไว้จำนวน 27.16 วันกว่าที่จะขายสินค้าได้ ถ้าสมมติในอดีตถือสินค้าไว้ 36 วัน ปัจจุบันจำนวนวันน้อยลงแปลว่า บริษัท AAA บริหารสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!
Source (ต้นฉบับจาก):
https://www.thaicpdathome.com/article/how-to-analyze-inventories
Copyright by ThaiCpdatHome.com
28093
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
Landed Cost
คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com