• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • เคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้ามในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50

เคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้ามในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • เคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้ามในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50

เคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้ามในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50

Timeline การยื่นงบการเงินประจำปี 2566

ก่อนไปดูความหมายของ ภ.ง.ด.50 นักบัญชีและเจ้าของกิจการ มาดู Timeline ในปี 2566 กับการยื่นงบการเงินปี 2565 กันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าต้องยื่นงบวันที่เท่าไหร่ ไม่ให้เกินระยะยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อไม่ให้ถูกปรับ และทำการส่งให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร โดยมี Timeline ดังนี้

“บริษัทจำกัด” ที่วันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2565 จะต้องปิดงบการเงิน, ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

Timeline การยื่นงบการเงินประจำปี 2566
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้น ภายใน 30 เมษายน 2566 (4 เดือนหลังวันสิ้นรอบบัญชี)
  • ยื่นรายชื่อผู้ถือหุ้น (บ.อ.จ.5) ภายใน 14 พฤษภาคม 2566 (14 วันหลังการประชุม)
  • ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ภายใน 30 พฤษภาคม 2566 (*กรณีตรงกับวันหยุดกรมสรรพากรอาจขยายกำหนดเวลายื่นแบบเป็นวันทำการถัดไป)
  • ยื่นงบการเงิน ภายใน 31 พฤษภาคม 2566 (กรณียื่นออนไลน์ขยายเวลาตามที่กฎหมายกำหนด)

จาก Timeline การยื่นงบการเงินประจำปี 2566 จะเห็นได้ว่า ใกล้กันเข้ามาแล้วกับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) ที่ต้องยื่นภายใน 30 พฤษภาคม 2566 โดยในบทความนี้ เราจะมากล่าวถึง ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) ว่ามีความหมายอย่างไร และ มีเคล็ดลับการยื่น ภ.ง.ด.50 อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้โดนกรมสรรพากรตรวจสอบภายหลัง ตามมาอ่านกันได้เลยค่ะ

ภ.ง.ด.50 หมายถึงอะไร

เคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้ามในการยื่น ภ.ง.ด.50

ภ.ง.ด.50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ต้องส่งให้กับกรมสรรพากรภายใน 150 วัน นับตั้งแต่สิ้นปีการเงินของนิติบุคคล ภายใต้กฎหมายภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามหลักการสรรพากรของประเทศไทย ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้จดทะเบียนธุรกิจจะต้องยื่นรายงาน ภ.ง.ด.50 เพื่อดำเนินการเข้าเสียภาษีตามระบบที่กฎหมายกำหนดในทุก ๆ ปี แม้ว่าปีนั้นจะมีการขาดรายได้หรือไม่ได้กำไรตามเป้าที่ตั้งไว้ก็ตาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กรมสรรพากรได้ตรวจสอบว่านิติบุคคลได้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการคำนวณภาษีเงินได้ของนิติบุคคลว่าถูกต้องหรือไม่ การยื่น ภ.ง.ด.50 เป็นการตรวจสอบและกำกับดูแลทางภาษีเพื่อป้องกันการขาดชำระภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในอนาคต

เคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้ามในการยื่น ภงด 50 ยื่นอย่างไรให้ถูกต้อง

  • ตรวจสอบช่องที่จะต้องกรอกข้อมูลภายใน ภ.ง.ด.50 ให้ถูกต้อง เนื่องจากจำนวนช่องในแบบฟอร์มมีจำนวนมาก อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้
  • ควรกรอกรายได้เกี่ยวกับการเงินต่างๆให้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
  • ไม่ควรใส่ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือหน่วยงานของตน ควรใส่เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการชำระภาษีเงินได้ที่ตนเองต้องการจะส่งเท่านั้น เพื่อไม่ให้ถูกเรียกตรวจสอบภายหลัง
  • หากไม่มีความจำเป็น อย่ายื่นคำร้องขอคืนภาษี เพราะถ้าหากหน่วยงานหรือองค์กรของตน ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ที่สามารถยืนยันได้ว่าตนเองถูกต้อง อาจจะทำกรมสรรพากรตรวจสอบข้อมูลทางการบัญชีย้อนหลังได้ และหากสรรพากรพบว่ามีความผิดอาจถูกเบี้ยปรับในมูลค่าที่สูงกว่าภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้นๆก็ได้
  • ผู้ยื่นควรตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลให้จบภายในรอบเดียว ไม่ควรยื่นหลายครั้ง เพราะอาจทำให้องค์กรถูกตรวจสอบข้อมูลทางการบัญชีได้
  • การเลือกเจ้าหน้าที่ในการยื่นเอกสาร ภ.ง.ด.50 นั้น ควรเลือกบุคคลที่มีความสามารถในการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ได้อย่างเป็นระเบียบ มีความใส่ใจในงานที่ตนได้รับมอบหมายได้อย่างละเอียด สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ราบรื่นมากที่สุด ที่สำคัญควรมีความรู้ทางด้านงานบัญชี เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างการทำหน้าที่

หากยื่น ภ.ง.ด.50 เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องชำระค่าปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้

  1. ค่าปรับ : ค่าปรับแบบไม่เกิน 2,000 บาท + ค่าปรับงบการเงิน ไม่เกิน 2,000 บาท (รวมเป็นไม่เกิน 4,000 บาท)
  2. เงินเพิ่ม (กรณีมีภาษีต้องชำระ) ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องเสีย

สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติมได้ที่

    • วิธียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th
    • แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.50 www.rd.go.th
    • ภ.ง.ด.50 คืออะไร? : กิจการ SME ได้ประโยชน์อะไร? https://www.prosoftwinspeed.com/
    • 9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50 https://www.prosoftwinspeed.com/
    • ความแตกต่างของรายได้ตาม ภ.ง.ด.50 กับรายได้ ตาม ภ.พ.30 https://www.prosoftwinspeed.com/
    โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed มีระบบที่ช่วยจัดงานงานภาษีอย่างระบบภาษี (Value Added Tax) ที่สามารถดูรายงานภาษีซื้อ, ภาษีขาย โดยเลือกรายงานตามงวดเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร และยังสามารถพิมพ์แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.1,ภ.ง.ด.3 , ภ.ง.ด.50 , ภ.ง.ด.53 ใบปะหน้าและใบแนบ และหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อช่วยให้นักบัญชีและ ผู้ประกอบการ SMEs เจ้าของธุรกิจเสามารถจัดการงานทางด้านภาษีและงานด้านบัญชีให้ใช้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ให้สอดคล้องกับกฎของสำนักงานภาษีด้วยการจัดรูปแบบเอกสารต่าง ๆ ได้โดยอัตโนมัติ สนใจทดลองใช้งาน ติดต่อได้ที่ ติดต่อเรา หรือ อ่านรายละเอียดฟังก์ชันอื่นๆ เพิ่มเติม อ่านเพิ่มเติม

    1

    ยื่นภาษีออนไลน์ ภงด.1,2,3,50,53, ภพ.30 ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

    2

    รองรับภาษืซื้อเฉลี่ย สามารถออกแบบ ฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ได้ตามต้องการ

    3

    ดูรายงานบัญชีพิเศษ แสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ และภาษี การค้า (ฉบับที่ 4)

    4

    รองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ทั้งแบบ by Email และแบบตัวเต็ม

    จัดการภาษี

    ที่มา : www.station-account.com, www.accountingcenter.co


    ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับงานบัญชี ได้ที่
    บทความ: www.prosoftwinspeed.com
     16079
    ผู้เข้าชม

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
    สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
    ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
    โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
    โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
    "ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
    สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์