ถ้าไม่อยากโดนภาษีย้อนหลัง ต้องรู้สิ่งนี้!!

ถ้าไม่อยากโดนภาษีย้อนหลัง ต้องรู้สิ่งนี้!!

จากเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประกอบการออนไลน์หลายคนถึงกับต้องอึ้ง กับกรณีหลังจากที่แม่ของน้องปอผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องมาไลฟ์ขายขนมเพื่อหาค่าใช้จ่ายดูแลลูก ซึ่งโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากการขายของ รวมเป็นเวลาถึง 5 ปี ค่าปรับเป็นจำนวนเงินรวม 12 ล้านบาท เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ประกอบการที่ขายของผ่านทางช่องทางออนไลน์เป็นอย่างมาก วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปดูว่าขายของได้เท่าไหร่ถึงต้องจ่ายภาษี และข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการเก็บภาษีย้อนหลังมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย



สาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) คือ จะเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะเป็นการป้องปรามทางภาษีอากร โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะดำเนินการโดย 3 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และสาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมี 2 อย่างด้วยกันดังนี้

     1. ยังไม่จ่ายภาษี

     2. จ่ายภาษีไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ

ถ้าไม่จ่ายภาษีย้อนหลังต้องโดนโทษอะไรบ้าง

  • กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี  
  • กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่าไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี   
  • กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท  
  • กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
  • กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทุกปี และต้องตรวจสอบเอกสารรายรับของธุรกิจให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนยื่นภาษี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง

     2. ทำบัญชีรายเดือน เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีรายได้ในแต่ละปี และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม อย่างธุรกิจออนไลน์ขนาดเล็กที่คิดว่าการทำบัญชีอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ระวังจะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเหมือนกับเคสข้างต้น

     3. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภาษีอยู่เสมอ เพราะว่าการยื่นภาษีในแต่ละปีมักจะมีเงื่อนไขใหม่ๆ ออกมาเสมอ ซึ่งผู้ประกอบการควรติดตามข่าสารเรื่องภาษีอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษี

ขายของได้เท่าไหร่ถึงต้องจ่ายค่าภาษี

สำหรับผู้ประกอบการที่ขายของผ่านช่องทางออนไลน์ หรือที่เรียกเป็นทางการว่าการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในรูปแบบของการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ ผ่านช่องทาง (e-Commerce) ด้วยช่องทางต่างๆ เช่น Line Lnwshop Facebook Weloveshopping Instagram Twitter Lazada Shopee Konvy เป็นต้น ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับการขายสินค้าที่มีหน้าร้านทั่วไป ซึ่งผู้ขายต้องนำรายได้นั้นมารวมเพื่อคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ด้วย และถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าทีต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

และสาเหตุที่แม่ของน้องปอโดนเรียกเก็บภาษีเนื่องจากขายของได้เกินปีละ 1.8 ล้าบาท แต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ต้องเจอค่าปรับอย่างที่เราได้บอกไปในข้างต้น

ที่มา : https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/infographic/info-e-business.pdf

โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ช่วยจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง่าย

ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) เป็นระบบสำหรับเรียกดูรายงานภาษีซื้อ , ภาษีขายของกิจการ โดยสามารถเลือกรายงานตามงวดที่ ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร และยังสามารถ พิมพ์ ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.53 ทั้งใบปะหน้า และใบแนบ รวมทั้งหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย

โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed ตอบโจทย์นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจยุคใหม่ ใช้งานง่าย สะดวก และรวดเร็ว ตรงตามหลักสรรพากรและหลักการบัญชี ที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ครอบคลุมทุกเรื่องของงานบัญชี เทียบเท่าโปรแกรมบัญชี ERP ในราคาประหยัด ช่วยให้คุณจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัดการงานด้าน เอกสาร, การขาย, การจัดซื้อ, สต็อกสินค้า, ไปจนถึงบัญชี, การเงิน, และงานทางด้านภาษี

1

ยื่นภาษีออนไลน์ ภงด.1,2,3,50,53, ภพ.30 ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

2

รองรับภาษืซื้อเฉลี่ย สามารถออกแบบ ฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ได้ตามต้องการ

3

ดูรายงานบัญชีพิเศษ แสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ และภาษี การค้า (ฉบับที่ 4)

4

รองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ทั้งแบบ by Email และแบบตัวเต็ม

จัดการภาษี
 6130
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์