081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
Accounting Articles
สัญญาค้ำประกันคืออะไร และมีภาระภาษีอะไรบ้าง
สัญญาค้ำประกันคืออะไร และมีภาระภาษีอะไรบ้าง
ย้อนกลับ
หน้าแรก
Accounting Articles
สัญญาค้ำประกันคืออะไร และมีภาระภาษีอะไรบ้าง
สัญญาค้ำประกันคืออะไร และมีภาระภาษีอะไรบ้าง
ย้อนกลับ
ความหมายและลักษณะของสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ
สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
ลักษณะของสัญญาค้ำประกัน
1.
ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่สาม
ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้และไม่ใช่ลูกหนี้ อาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ได้ สัญญาค้ำประกันคือการประกันการชำระหนี้ด้วยตัวบุคคล (บุคคลสิทธิ) มีผลให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยบังคับจากทรัพย์สินทั่ว ๆ ไปได้ แตกต่างจากสัญญาจำนองและสัญญาจำนำซึ่งเป็นการประกันด้วยทรัพย์ (ทรัพยสิทธิ) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์นั้น แม้ทรัพย์นั้นจะเปลี่ยนเจ้าของไปแล้วก็ตาม แต่จะไปบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของผู้จำนองหรือผู้จำนำไม่ได้
2. ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หรือที่เรียกว่า หนี้ประธาน
การจะมีสัญญาค้ำประกันได้จะต้องมีหนี้ประธาน โดยหนี้ประธานนั้นจะเกิดจากมูลหนี้ชนิดใดก็ได้ เช่น เกิดสัญญากู้ยืม สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้างแรงงาน หรือละเมิด แต่ถ้าไม่มีหนี้ประธาน แม้จะมีการทำสัญญากันไว้ ผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิด
3. ต้องเป็นการผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่บุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ หากผู้ค้ำประกันไปทำสัญญากับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ สัญญานั้นย่อมไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
นอกจากนี้ การที่บุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ที่จะเป็นสัญญาค้ำประกันได้นั้น จะต้องเป็นการผูกพันตนเพื่อการชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ ถ้าเป็นการให้คำลอย ๆ ไม่ได้ระบุว่าจะชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ ก็ย่อมไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
4. สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ
ไม่เช่นนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
5. หนี้ที่ค้ำประกันหรือหนี้ประธาน ต้องเป็นหนี้อันสมบูรณ์
6. ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม
หรือในฐานะลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะแต่จะไม่มีผลถึงข้อตกลงอื่น ๆ ในสัญญาค้ำประกัน อย่างไรก็ดี หากนิติบุคคลเป็นผู้ค้ำประกัน นิติบุคคลผู้ค้ำประกันสามารถทำข้อตกลงโดยยอมรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะลูกหนี้ร่วมได้
7. ข้อตกลงเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันที่แตกต่างจากมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม
(เรื่องความสมบูรณ์และเนื้อหาของสัญญาค้ำประกัน) มาตรา 686 (ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวผู้ค้ำประกันก่อนจึงจะฟ้องผู้ค้ำประกันได้) มาตรา 694 (ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้) มาตรา 698 (ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับ) มาตรา 699 (ผู้ค้ำประกันหนี้ในอนาคตมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเพื่อคราวอันเป็นอนาคต) ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
1. ความรับผิดของผู้ค้ำประกันย่อมเป็นไปตามสัญญาค้ำประกัน โดยผู้ค้ำประกันจะทำสัญญาจำกัดความรับผิดของตนไว้อย่างไรก็ได้
2. ถ้าไม่จำกัดความรับผิดไว้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดรวมไปถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นด้วยโดยดอกเบี้ยที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดจะถือตามสัญญาที่ก่อหนี้ประธาน
3. รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้
ภาษีที่เกี่ยวข้อง
1.
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีเป็นผู้ค้ำประกัน
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ โดยได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากลูกหนี้ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามสัญญาค้ำประกันย่อมเข้าลักษณะเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ โดยใช้เกณฑ์สิทธิ
กรณีเป็นลูกหนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมตามสัญญาค้ำประกันให้แก่ผู้ค้ำประกัน ค่าธรรมเนียมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
กรณีบริษัททำสัญญาค้ำประกันโดยคิดค่าตอบแทนการค้ำประกัน ไม่ว่าบริษัทฯ จะได้ประกอบกิจการในการรับค้ำประกันหนี้ให้แก่บุคคลอื่นในทางการค้าหรือไม่ การค้ำประกันดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการ โดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับ (รวมภาษีท้องถิ่น)
เว้นแต่จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/3 ประกอบพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534
3.
อากรแสตมป์
สัญญาค้ำประกันเป็นตราสารลักษณะ 17. ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายประมวลรัษฎากร ต้องเสียอากรแสตมป์ ดังนี้
จำนวนเงิน
ค่าอากรแสตมป์
มิได้จำกัดจำนวนเงิน
10 บาท
ไม่เกิน 1,000 บาท
1 บาท
เกิน 1,000 แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
5 บาท
10,000 บาทขึ้นไป
10 บาท
บทความโดย :
https://www.magazine.dst.co.th
https://www.dharmniti.co.th/
1988
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
Landed Cost
คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com