081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News & Events
ข่าวสารบัญชี
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News & Events
ข่าวสารบัญชี
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
ย้อนกลับ
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
เพื่อให้ได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเร็ว ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ต้องจัดให้มีการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนต่างๆ โดยสังเขปดังนี้
1.1 กำหนดนโยบายการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) เพื่อให้การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดบัญญัติไว้ และมีจำนวนน้อยที่สุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
(2) เพื่อให้ขจัดปัญหาในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการที่อาจเกิดขึ้นในทุกกรณี เนื่องจากแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการกำหนดรายละเอียดของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้มากมาย รวมทั้งกำหนดประเด็นความผิดไว้เกือบทุกกิจกรรม ซึ่งหากไม่มีการวางแผนหรืออย่างน้อยทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก็อาจต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสมอ อันจะนำไปสู่การเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในทางตรงกันข้ามหากมีการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้ผู้บริหาร
ไม่ต้องเสียเวลากับปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเกิดจากการปฏิบัติผิดพลาดทั้งกรณีที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจให้เกิดความผิดพลาดนั้น
(3) เพื่อประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ได้แก่ เบี้ยปรับ เพราะเหตุที่ผู้ประกอบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มขาดจำนวน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี เงินเพิ่มภาษี เพราะเหตุที่ผู้ประกอบการชำระ หรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า หรือเกินเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ในอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนหรือเศษของเงินภาษีที่ต้องชำระ หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และมีค่าปรับทางอาญาเนื่องจากการฝ่าฝืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่เกี่ยวกับการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ผู้ประกอบการพึงเข้าใจว่าเบี้ยปรับเงินเพิ่มและค่าปรับทางอาญาตามประมวลรัษฎากรนั้น ในทางบัญชีให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานทั่วไป แต่ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี
(6) แห่งประมวลรัษฎากรต้องนำมาบวกกลับเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล อันจะทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีกร้อยละ 30 ของรายจ่ายที่ต้องห้ามดังกล่าว
(4) เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และพร้อมต่อการถูกเรียกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) เพื่อเสริมสร้างระบบการควบคุมภายใน
1.2 กำหนดคณะบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
1.3 ศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มทุกกรณี
1.4 ศึกษารูปแบบการจัดองค์การ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเอกสารทางธุรกิจ
1.5 ดำเนินการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.6 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลกระทบ
2. ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย ตลอดจนเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน โดยต้อง
2.1 รู้จริง และรู้ซึ้งว่ากิจกรรมใดของกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะเกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีและเมื่อใด
2.2 ต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนว่าเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการสิ่งใดบ้าง ได้แก่
(1) ออกใบกำกับภาษีและสำเนา พร้อมทั้งส่งมอบ
ต้นฉบับใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการในทันทีที่ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (มาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) จัดทำรายงานภาษีขายให้เสร็จสิ้นไปภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(3) จัดเก็บรายงานและเอกสารหลักฐานสำเนา
ใบกำกับภาษีขายไว้ ณ สถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30
3. ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ ตลอดจนเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
โดยต้องรู้จริง รู้ซึ้งว่า ภาษีซื้อรายการใดที่ขอเครดิตหักออกจากภาษีขายได้ และเป็นจำนวนเท่าใด
ในกรณีที่ต้องมีการเฉลี่ยภาษีีซื้อภาษีซื้อตามหลักฐานใบกำกับภาษีของเดือนภาษีใด ให้นำไปเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระของเดือนภาษีที่ได้รับใบกำกับภาษีนั้น หรือในเดือนถัดไป แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษส่วนใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ให้ใช้เพิ่มยอดภาษีซื้อหรือลดยอดภาษีซื้อ ในเดือนภาษีที่ได้รับเท่านั้น นอกจากนี้ ต้องรู้ว่าภาษีซื้อรายการใดที่เป็นภาษีต้องห้าม แต่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ รวมทั้งวางแผนป้องการใบกำกับภาษีปลอม ที่จะเข้ามาในกิจการ
ด้วยการวางระบบการควบคุมภายในที่ดี
4. ต้องเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียน
ตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าวโดยเคร่งครัด รวมทั้งให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานสรรพากรด้วยดี ในการปฏิบัติหน้าที่ อาทิ การกำกับดูแล การตรวจสอบก่อนหรือหลังคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. เข้าสู่ระบบการเป็นผู้ส่งออกที่ดี หรือผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน
เพื่อให้ได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร็วกว่า โดยเฉพาะกรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Web Site ของกรมสรรพากร
ที่มา :
www.accasa.com
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com