กรมสรรพากรแจ้งเตือน!!

กรมสรรพากรแจ้งเตือน!!

 
ซึ่งประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงิน คือ

งบดุล
     1. สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงิน ไม่มีรายการสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
     2. ห้างฯ ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน และรายการกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน
     3. ห้างฯ ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน
     4. บันทึกรายการสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของหุ้นส่วนฯ เป็นสินทรัพย์ของห้างฯ และไม่มีการบันทึกสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างฯ เป็นสินทรัพย์ของห้างฯ
     5. จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น
           • จัดประเภทรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อเป็นเจ้าหนี้การค้า
           • แสดงรายการลูกหนี้กรมสรรพากรเป็นลูกหนี้การค้า
           • แสดงรายการสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จัดประเภทรายการสินค้าคงเหลือ รวมอยู่ในรายการเงินสด และเงินฝากสถาบันการเงิน
           • ไม่แยกรายการที่มีสาระสำคัญออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และจัดประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน
เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นต้น

     6. แสดงรายการลูกหนี้  เจ้าหนี้ และเงินกู้ยืม ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยแยกรายการบัญชี ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด
     7. งบการเงินบันทึกมูลค่าสินทรัพย์สูงไป เนื่องจากนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอคืนไปรวมเป็นมูลค่าของทรัพย์สิน
     8. งบการเงินแสดงข้อมูลส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
เช่นแสดงข้อมูลส่วน ของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ตรงกับข้อมูล ที่ได้จากการคัดค้นทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
     9. ลูกหนี้ค่าหุ้น แสดงรายการเป็นสินทรัพย์ ไม่ได้นำไปหักในส่วนของผู้ถือหุ้น
     10.แสดงจำนวนเงินยอดรวมสินทรัพย์ไม่เท่ากับยอดหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

งบกำไรขาดทุน

      1. งบการเงินไม่แสดงรายการต้นทุนขาย/บริการ ซึ่งผิดปกติของการประกอบธุรกิจ
      2. จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น จัดประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดต้นทุนขาย/บริการไปไว้ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แสดงค่าอากรขาเข้าเป็นค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้แสดงเป็นต้นทุนหรือไม่มีการปันส่วนต้นทุนขาย/บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นต้น
      3. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ไม่แสดงรายการค่าสอบบัญชีประจำปี ไม่แสดงรายการดอกเบี้ยจ่ายสำหรับรายการบัญชีเงินเบิก เกินบัญชี และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ไม่แสดงรายการดอกเบี้ยรับ สำหรับรายการบัญชีเงินฝาก สถาบันการเงิน เป็นต้น
      4. งบการเงินมีรายการทรัพย์สิน แต่ไม่มีรายการค่าเสื่อมราคา หรือคำนวณค่าเสื่อมราคาเพียงบางรายการหรือไม่ได้คำนวณ ค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่ได้มาของทรัพย์สิน
      5. รายการค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุนมีจำนวนเงินไม่ตรงกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน
      1. ไม่ปรากฏหมายเหตุประกอบงบการเงิน
      2. เปิดเผยข้อมูลทั่วไปไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ระบุประเภทกิจการผิด
      3. ไม่มีการสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงลักษณะของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี เช่น การรับรู้รายได้/ค่าใช้จ่าย
สินค้าคงเหลือ การคำนวณค่าเสื่อมราคา
      4. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย
ตามเกณฑ์สิทธิ เกณฑ์พึงรับพึงจ่าย เกณฑ์ค้างรับค้างจ่าย ซึงไม่เป็นไปตาม
แม่บทการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
      5. เปิดเผยนโยบายการบัญชีวิธีการรับรู้รายได้ค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจ ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน เช่น กิจการรับเหมาก่อสร้าง
      6. เปิดเผยรายละเอียดของสินทรัพย์ถาวรโดยมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามมาตรฐาน การบัญชี เช่น อายุการใช้งาน อัตราการคิดค่าเสื่อมราคา ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคา
      7. ไม่เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคา หรือเปิดเผยวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยอ้างอิงประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
      8. เปิดเผยนโยบายวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา ไม่ตรงกับการบันทึกในบัญชี
      9. เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือไม่เหมาะสมกับประเภทสินค้า คงเหลือ
      10.ไม่เปิดเผยรายการข้อมูลที่สำคัญตามมาตรฐานการบัญชี เช่น ภาระผูกพันข้อมูลทางการเงินและ
การดำเนินงานต่อเนื่อง


ที่มา : กรมสรรพากร

 
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์