Safety Stock คือ การบริหารสินค้าคงคลังขั้นต่ำ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “สินค้ากันชน” ที่ธุรกิจควรมีและเก็บไว้นอกเหนือจากความต้องการทั่วไปเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาความแปรผันของกำลังการผลิต และเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนในการผลิตและการจัดส่ง การมี Safety Stock ช่วยป้องกันการขาดแคลนสินค้าซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของความต้องการที่ไม่คาดคิด ความล่าช้าในการจัดส่งจากซัพพลายเออร์ (Supplier) หรือปัญหาในกระบวนการผลิต
การกำหนดปริมาณ Safety Stock ในคลังสินค้า ควรมีให้เพียงพอต่อความต้องการซื้อของลูกค้า เพื่อรอจนกว่าสินค้าที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตจะมาเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เพื่อให้สามารถรองรับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนด Safety Stock ได้แก่ ความแปรปรวนของความต้องการ ระยะเวลานำ (Lead Time) ระดับความมั่นใจที่ต้องการ และข้อมูลการจัดการสินค้าคงคลังในอดีต วิธีการคำนวณ Safety Stock มีหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดคือการใช้สูตรทางสถิติ
ตัวอย่าง: บริษัท A มีความต้องการ 200 ชิ้นต่อวัน (ความต้องการสูงสุด 300 ชิ้นต่อวัน) โดยใช้ระยะเวลาในการจัดหา 10 วัน (ระยะเวลาในการจัดหาสูงสุด 20 วัน) ดังนั้นบริษัทจะต้องมีสินค้าเพียงพอกับความต้องการก่อนที่สินค้าล็อตถัดไปจะมาถึง
Safety Stock = (300 x 20) – (200 x 10) = 4,000
หมายความว่าธุรกิจจะต้องมีสินค้าคงคลังขั้นต่ำเก็บเอาไว้ 4,000 ชิ้น จึงจะเพียงพอต่อการขาย และเพียงพอต่อการป้องกันสินค้าขาดสต็อก
สรุป Safety Stock เป็นส่วนสำคัญในการจัดการสินค้าคงคลัง ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้าและเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานของธุรกิจ การคำนวณและการปรับปรุง Safety Stock อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับธุรกิจไหนที่มีปัญหาในการจัดการสินค้าคงคลัง ทั้งในเรื่องของปัญหาสินค้าขาดสต็อก สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด สามารถเลือกใช้ ระบบบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management) ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่ใช้ควบคุมสินค้าคงคลัง ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังรองรับสินค้าที่มีลักษณะเป็น Lot , Lot & Serial , Lot & Expire ซึ่งสามารถบันทึกรายการเคลื่อนไหวของสินค้าได้ทั้งการรับสินค้าเข้า , การจ่ายสินค้าออก , การโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง หรือสาขา มีผลทำให้สามารถตรวจสอบยอดสินค้าคงเหลือในคลัง , ตรวจสอบยอดสินค้าต่ำกว่า Minimum Stock หรือยอดสินค้าสูงกว่า Maximum Stock รวมทั้งแสดงสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย
เพื่อให้ธุรกิจได้เข้าใจกระบวนการในการบริหารคลังสินค้ามากยิ่งขึ้น สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
บริหารคลังสินค้าอย่างมือโปร เพียงแค่ใช้ โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก :